fbpx

กล้องวงจรปิด (Close Circuit Tele Vision)

ระบบกล้องวงจรปิด CCTV คือระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด ซึ่งเป็นระบบสำหรับการใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ หรือเป็นการส่งสัญญาณภาพ จากกล้องวงจรปิด ที่ได้ติดตั้งตามที่ต่างๆ มายังส่วนรับภาพ/ดูภาพ

ซึ่งเรียกว่า จอภาพ ( Monitor ) และบันทึกลงเครื่องบันทึก เพื่อเก็บข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ไว้เป็นหลักฐานโดยทั่วไปจะติดตั้งอยู่คนละที่กับกล้อง เช่นที่ห้องควบคุม ห้องเซอร์เวอร์ ป้อนยาม ฯลฯ

ชุดติดตั้งกล้องวงจรปิดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระบบกล้องวงจรปิด CCTV มีดังนี้

  1. กล้องวงจรปิด (CCTV Camera)
  2. เลนส์กล้องวงจรปิด (CCTV Lens)
  3. เครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด (Digital Video Recorder หรือ DVR )
  4. จอภาพหรือจอมอนิเตอร์ (TV หรือ LCD Monitor)
  5. กล่องครอบกล้องวงจรปิด ทั้งแบบภายใน และ ภายนอกอาคาร (Housing Indoor , Housing Outdoor )
  6. กล่องควบคุมการทำงานของกล้องวงจรปิด (Control System)
  7. สายสัญญาณภาพ RG6 สำหรับเดินสายให้กล้องวงจรปิด
  8. สายไฟ AC-DC สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กล้องวงจรปิด
  9. และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้องวงจรปิด

หลักการทำงานของกล้อง

เมื่อต่อ Adapter เรียบร้อยแล้ว กล้องก็จะทำงาน การทำงานของกล้องจะเริ่มตั้งแต่การรับแสงผ่านเข้ามาในตัวกล้องโดยผ่านทางเลนส์นูนที่มีหน้าที่รวมแสง หลังจากนั้นแสงก็จะไปตกลงบนชิป ที่ทำหน้าที่เสมือนฉากรับภาพ “ชิป”

จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสง ให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า เข้าไปถอดรหัสแปลงรหัสนำสัญญาณออกไปใช้ โดยสัญญาณนี้ออกไปโชว์ที่หน้าจอภาพ MONITOR และนำไปใช้ได้ต่อไป ( เช่น ส่งสัญญาณไปออกโทรทัศน์ )

กล้องวงจรปิด ณ ปัจจุบัน

ปัจจุบันกล้องวงจรปิดสามารถแยกเป็น3ประเภทดังนี้

1. กล้องวงจรปิดระบบอนาล็อก Analog camera

เป็นกล้องวงจรปิดที่ใช้สายสัญญาณชนิด Coaxial Cable โคแอคเชี่ยล หรือสาย RG มาเป็นอุปกรณ์นำสัญญาณ โดยไม่ต้องตั้งค่าใดๆ

ข้อดีของกล้องวงจรปิดระบบอนาล็อก

  • ต้นทุน ระบบอนาล็อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
  • ยืดหยุ่นกว่า เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบใหญ่ มีอินฟราเรดติดตั้งมาพร้อมกับกล้อง ทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • ความเข้ากันได้ ในระบบอนาล็อกมีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถเลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
  • ความละเอียดของภาพที่ได้ไม่มาก เนื่องจากระบบ Analog ไม่สามารถส่งภาพที่มีความละเอียดสูงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสายด้านความคมชัด ระบบอนาล็อกจะมีหน่วยในการวัดค่าความคมชัดที่เป็น TVline ซึ่งสูงสุดที่ 1200 Tvline
  • ช่างที่ทำการติดตั้งไม่ต้องมีความรู้ด้านเน็ตเวิร์ก ก็สามารถติดตั้งได้

2. กล้องวงจรปิดระบบ ไอ พี IP camera

เป็นกล้องวงจรปิดที่ต้องตั้งค่า IPAddress เพื่อกำหนดระบุตัวตนในการแสดงภาพ และต้องอาศัยสาย UTP หรือสาย LAN มาเป็นตัวต่อเชื่อม หรือบางรุ่นอาจใช้เป็นแบบไร้สายได้ และต้องอาศัยความรู้ด้านเน็ตเวิร์ค ซึ่งปัจจุบัน มีทั้งระบบเดินสาย และระบบไร้สาย

ข้อดีของกล้องวงจรปิดระบบไอพี

  • ระบบนี้มีราคาแพงกว่าระบบอนาล็อก
  • Wireless สนับสนุนการทำงานผ่านระบบเครือข่ายไร้สายมากกว่า Analog
  • ระบบเครือข่ายเดิม กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
  • เพิ่มกล้องได้ง่าย หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ติดข้อจำกัดของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
  • ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ "เต็มที่" ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป
  • กล้องแต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
  • ความละเอียด เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบอนาล็อกไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก TVL ไปเป็น Pixel ซึ่งปัจจุบันจะมีตั้งแต่ 1 Megapixel ขึ้นไป
  • ฟังก์ชั่น POE บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก
  • ความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากทำงานบนระบบ digital สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server และ hacker ไม่สามารถ "ดัก"เอาข้อมูลระหว่างทางได้

3. กล้องวงจรปิดระบบอนาล็อก HD

เป็นระบบอนาล็อกกึ่งดิจิตอล คือ กล้องวงจรปิดรูปแบบใหม่ ที่พัฒนามาจากกล้อง Analog แบบเดิมเทคโนโลยีนี้ ถูกพัฒนาให้ภาพคมชัดขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นในระดับ HD 720p (1280 x 720) และ HD 1080p (1920x1080) มีความสามารถ ส่งผ่านสายสัญญาณไกลถึง 500 เมตร

โดยใช้สาย Coaxial RG-6 เดิม เป็นการอัพเกรดจาก ระบบ Analog เดิม ไม่ต้องทำการติดตั้งเดินสายใหม่ จะไม่มีการบีบอัดหรือการเข้ารหัสทำให้ภาพที่ได้เป็น Real-Time ไม่มีการหน่วงของสัญญาณในการส่งสัญญาณ เมื่อเปรียบกับสัญญาณ อนาล็อก ซึ่งระบบนี้ ถูกแบ่งย่อยออกมาอีก ดังนี้คือระบบ

  • ระบบอนาล็อก HD SDI
  • ระบบอนาล็อกHD AHD
  • ระบบอนาล็อก HD TVI
  • ระบบอนาล็อกHD CVI

กล้องวงจรปิด สามารถแบ่งออกเป็นหลายรูปทรงลักษณะต่างๆ ได้ 5 แบบ ดังนี้

1. กล้องทรงโดม Dome camera

กล้องวงจรปิดแบบโดม (Dome camera) เป็นกล้องที่มีรูปทรงลักษณะที่เป็นแบบครึ่งวงกลม โดยวัสดุที่ใช้ทำ ก็มีแบบทั้งพลาสติก หรือ อลูมิเนียมผสมเหล็กหล่อขึ้นรูปกรณีที่จะเลือกใช้กล้องโดม

กล้องทรงโดมเหมาะสำหรับการติดตั้งใช้งานที่ไหน

  • เหมาะสำหรับติดตั้งภายใน เช่น บ้าน ออฟฟิต สำนักงาน หรือสถานที่ภายใน
  • เหมาะสำหรับติดตั้งบนเพดานที่เป็นฝ้า
  • พอติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะให้ความรู้สึกสวยงามกว่ากล้องทรงกระบอก

2. กล้องทรงมาตรฐานหรือกล้อง Standard Camera

กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน ข้อดีของมันที่เห็นได้ชัดๆ เลยคือ

  • ตัวกล้องวงจรปิดจะแยกส่วนกับเลนส์ ทำให้สามารถเลือกใช้เลนส์ได้อิสระมากกว่าตามความต้องการ เช่นหากต้องการระยะใกล้หรือไกล ก็สามารถเลือกเลนส์มาใส่ได้เลย ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดที่จะติดตั้งและต้องการโฟกัสภาพไปที่ไหน
  • ลักษณะเด่นของกล้องคือ เป็นรูปทรงแบบเป็นกล้องสี่เหลี่ยม ตามการออกแบบ รูปร่างที่มีขนาดให้เลือกเยอะ(เล็ก/ใหญ่)
  • เหมาะสำหรับติดตั้งทั้งด้านในและด้านนอกอาคาร ซึ่งหากใช้ติดตั้งนอกอาคารนั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์ป้องกันน้ำฝุ่นและของเหลวด้วย นั้นคือ (Housing) ฝาครอบ

3. กล้องวงจรปิดอินฟาเรด (IR Camera ) หรือ Bullet

เป็นกล้องวงจรปิดอินฟาเรด เป็นกล้องวงจรปิดที่ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนใช้ สำหรับรักษาความปลอดภัยพื้นที่สูง เฝ้าระวังแจ้งเตือนที่ต้องเกิดขึ้นตลอดคืน ในเวลากลางวันตัวกล้องจะเป็นภาพสี ส่วนในเวลากลางคืนตัวกล้องวงจรปิด จะเปลี่ยนไปเป็นโหมดภาพขาว-ดำ อัตโนมัติ

ด้านหน้าตัวกล้องวงจรปิดจะมีหลอด LED อินฟราเรดที่จะส่งแสงสว่างอัตโนมัติในตอนกลางคืน ตัวกล้องรุ่งนี้เหมาะกับการใช้งานใน สถานที่ๆ ค่อนข้างมืด ถึงมืดสนิท เช่น ด้านหลังอาคารสำนักงาน ลาดจอดรถ ภายในห้องเก็บของ ห้องสต๊อกสินค้า หรือ ตามซอกกำแพง ต่างๆ เป็นต้น โดยปกติจะติดได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และ ในงานภายนอกอาคาร ทนฝน และ ทนแดดได้ดี

4. กล้องวงจรปิดแบบสปีดโดม PTZ Camera

เป็นกล้องวงจรปิดที่สามารถซูมได้ หมุนได้หรือมีตัวย่อว่า P = PAN (หมุน ส่าย) ,T = TILT (ก้ม เงย) ,Z = ZOOM (ซูม) กล้องวงจรปิดรุ่นนี้จะ สามารถซูมได้ หมุนได้รอบทิศทาง ( ซ้าย-ขวา-ก้ม-เงย ) โดยสามารถควบคุมได้ผ่านทางคันบังคับ (Key Board joystick) และควบคุมผ่านเครื่องบันทึก หรือจะควบคุมผ่านทางไกล ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ก็ได้

และ คุณยังสามารถตั้งกล้องให้หมุนเองได้โดยอัตโนมัติ ตามจุดต่างๆ ที่คุณกำหนดไว้ได้อีกด้วย ปัจจุบันกล้องวงจรปิดแบบนี้ จะเรียกว่ากล้อง Speed Dome เป็นกล้องอัจฉริยะรุ่นหนึ่ง ที่สามารถหมุนได้รอบตัว 360 องศา (PAN) ก้มเงยได้ 90 องศา (Tilt) และยังซูมภาพแบบออฟติกคอลซูม (Optical Zoom) ได้อีกด้วย

สามารถบังคับได้โดยใช้อุปกรณ์เสริม (Controller) จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือสามารถล็อกเป้าหมายแล้วหมุนกล้องตามเป้าหมายนั้น โดยอัตโนมัติหรือที่เรียกกันว่า Auto Tracking นั่นเอง กล้องชนิดนี้นิยมใช้ในองค์กรใหญ่ๆ โรงงานต่างๆ สถานีรถไฟฟ้าทั่วไป ห้างขนาดใหญ่ เช่น Big-C, Lotus เป็นต้น ราคากล้องค่อนข้างสูง มีทั้งแบบใช้ภายใน และภายนอกอาคาร และมีทั้งแบบ IR และไม่มี IR

5. กล้องวงจรปิดแบบแอบซ่อน (Hidden Camera)

กล้องวงจรปิดแบบนี้ใช้สำหรับงานที่เป็นความลับและ ไม่ให้ รู้มุมกล้องว่ามีกล้องติดอยู่ กล้องซ่อนส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด เช่น กล้องรูเข็ม กล้องหลอดไฟ กล้องกระจก เป็นต้น

นิยมติดตั้งในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการความปลอดภัย หรือ ต้องการจับผิดผู้คน-พนักงาน-ลูกค้า ฯลฯ สถานที่ๆนิยมติดตั้ง กล้องวงจรปิดแบบแอบซ่อน คือ ร้านค้า มินิมาร์ท โรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร สำนักงาน ต่างๆ เป็นต้น

แบบแอบซ่อนจุดประสงค์หลัก เพื่องานที่เป็นความลับและไม่ต้องการให้รู้ว่า มีกล้องติดตั้งอยู่จุดไหนบ้าง กล้องวงจรปิดแบบแอบซ่อน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด รูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น กล้องรูเข็ม ที่มีขายตามท้องตลาดความละเอียดภาพไม่ค่อยสูงมาก

มารู้จักฟังก์ชั่นเทคโนโลยี HLC,BLC,WDR,DNR เหล่านี้จากกล้องวงจรปิด

BLC-Back Light Compensation

คือ การชดเชยแสงทั้งภาพ เพื่อให้วัตถุที่สนใจในภาพได้รับความสว่างจนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ โดยไม่สนใจวัตถุที่อยู่รอบนอก ภาษาช่างภาพคือการชดเชย แสงนั่นเองข้อเสียของการชดเชยแบบนี้คือ วัตถุมองเห็นรายละเอียด แต่จะสูญเสียรายละเอียดในส่วนที่สว่าง คือมันจะขาว จนทำให้เรามองไม่เห็นรายละเอียดมันต้องแล้วแต่สถานการณ์เพราะบางครั้ง สิ่งที่อยู่ ด้านนอกนั้น คือสิ่งที่เราต้องการ เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ภาพด้านบนจะเห็นว่า ถ้าเราติดตั้งด้วยกล้องแบบปกติธรรมดา คนที่ยืนอยู่เราก็จะมองไม่เห็น เนื่องจากว่าเป็น ภาพย้อนแสง แต่ถ้าติดตั้งกล้อง cctv BLC ก็จะสามารถเห็นรายละเอียดฉากหน้าได้แต่ก็สูญเสียรายละ เอียดฉากหลังไปบ้าง

WDR-Wide Dynamic Range

คือ การที่กล้องถ่ายภาพซ้อนกัน 2 ใบในเวลาเดียวกัน ใบหนึ่งถ่าย ภาพในสภาวะปกติ อีกใบหนึ่งถ่ายให้มีความสว่างมากกว่าปกติ แล้วนำภาพที่ได้มาซ้อนกัน ทำให้ภาพทั้งภาพ มีรายละเอียด คือส่วนที่มืดก็ดึงภาพให้สว่างขึ้น ส่วนที่สว่างเกินไปก็ดึงรายละเอียดกลับมาทำให้มองเห็น รายละเอียดภาพ ซึ่งส่วนใหญ่กล้อง WDR นี้จะใช้มากในสภาพย้อนแสง คือ แสงจากฉากหลังสว่างกว่า วัตถุที่เราสนใจ

ซึ่งจะทำให้ภาพซึ่งมีวัตถุที่เราสนใจมืดกว่าปกติ เราจึงต้องแก้ไขด้วยการติดกล้อง WDR เพื่อให้ภาพที่ได้มีรายละเอียด สังเกตจากภาพที่มีระบบ WDR (ภาพใหญ่ทางด้านขวา) จะสามารถมองเห็น คนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกได้ ในทางกลับกัน หากจุดนี้ติดตั้งกล้องแบบธรรมดา ภาพที่ได้วัตถุที่สนใจหรือ คนจะมืดจนมองไม่เห็นรายละเอียด (ภาพด้านซ้ายล่าง) หรือคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกสว่างจนไม่เห็น รายละเอียดดังภาพ (ซ้ายบน) ในสถานการณ์อย่างนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่

ต้องใช้กล้อง WDR สังเกตจากภาพ ด้านล่างรูปภาพที่มีระบบ WDR (ภาพใหญ่ทางด้านขวา) จะสามารถมองเห็นคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกได้ ในทางกลับกัน หากจุดนี้ติดตั้งกล้องแบบธรรมดา ภาพที่ได้ วัตถุที่สนใจหรือคนจะมืดจนมองไม่เห็นรายละ เอียดหรือคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกสว่างจนไม่เห็นรายละเอียดดังภาพ ในสถานการณ์อย่างนี้จำเป็น อย่าง ยิ่งที่ต้องใช้กล้อง WDR

สรุป ฟังก์ชั่นมีไว้ใช้กับหน้างานที่ หลีกเลี่ยงการติดตั้ง ย้อนแสงไม่ได้นั้นเอง

HLC (High Light Compensation)

คือหนึ่งเทคโนโลยีของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ที่ช่วยลดแสงสว่างจ้า จากไฟสปอร์ตไลท์ ไฟหน้ารถยนต์ หรือวัตถุที่มีแสงสีขาว เป็นหนึ่งเอกลักษณ์ที่ถูกพัฒนาจากระบบ BLC (Black Light Compensation) โดยฟังก์ชั่นถูกออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน

HLC เป็นฟังก์ชั่นในสภาวะที่เราจะสังเกตเห็นว่าในกล้องวงจรปิดทั่วๆไปนั้น หากว่าเรา หันหน้ากล้องเข้าหาแสงสว่างมากๆภาพที่เราได้ออกมานั้นจะมืด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราใช้กล้องวงจรปิดส่องป้ายทะเบียนหน้า รถในตอนกลางคืนซึ่งตัวกล้องเองจะถูกแสงไฟจากหน้ารถส่องสวนเข้ามา ทำให้กล้องไม่สามารถที่จะมองเห็นหมายเลขของป้ายทะเบียน ได้แต่ด้วยฟังค์ชั่น HLC นี้จะช่วยลดแสงสว่างที่มากเกินไป ทำให้เราสามารถมองเห็นรายละเอียดวัตถุได้มากขึ้น ซึ่งจากตัวอย่าง ใน

ภาพจะเห็นว่าเราสามารถที่จะมองเห็นป้ายทะเบียนรถได้ดีขึ้น HLC จะมีทั้งแบบที่ เป็นเซ็นเซอร์ไปตัดแสงที่สว่างจ้ากลายเป็นสีดำ (รูปที่ 1) และ HLC แบบที่ลดแสงจ้าโดยรวมลง จะได้รายละเอียดของภาพมากขึ้น (รูปที่2) ทั้งนี้ระบบ HLC เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยในการลดแสงสว่างจ้าให้ได้รายละเอียดของภาพมากขึ้นครับ

ระบบลดสัญญาณรบกวน DNR 2D/3D Digital Noise Reduction (DNR)

ก่อนที่จะเป็น 3D-DNR นั้น อยากจะให้รู้จักกับ DNR 2D กันซะก่อน ซึ่งเทคโนโลยี DNR 2D เป็นกระบวนการทำงานลดเสียงรบกวน ในขณะที่กำลังจับภาพหรือบันทึกวิดีโออยู่ ซึ่งการจับภาพหรือบันทึกภาพนั้น อ้างอิงจากแห่งฟิสิกส์เรื่องของแสงที่เข้ามาจะเป็นอิเล็กตรอนแล้วผ่านเข้าสู่เลนส์อีกที จากนั้นเซนเซอร์ที่จะเข้าดูดซับอิเล็กตรอนนั้น และจะถูกปกคลุมด้วยพิกเซลนั่นเอง

ฉะนั้นแล้วการจับภาพหรือบันทึกวีดิโอที่มีความไวสูงในพื้นที่ที่มีแสงน้อย หรือการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเกินไป จะทำให้ภาพที่ได้มีเสียงรบกวนเกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดความเสียหายในภาพที่บันทึกไว้ ทำให้ได้ภาพที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร กล้องวงจรปิดที่ดีนั้นควรจะมีฟังก์ชั่นลดเสียงรบกวนเพื่อลดการคลาดเคลื่อนของจุดโฟกัส และเพิ่มความหนาแน่นของพิกเซลในภาพทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ที่นี้ก็มารู้จักกับเทคโนโลยี 3D-DNR กันเลย ซึ่งในเวลาต่อมานั้นได้มีการคิดค้นฟังก์ชั่น 3D-DNR ขึ้นซึ่งพัฒนามาจาก DNR 2D แบบเก่า โดย DNR 3D จะเป็นกระบวนการทางเทคนิคที่สูงกว่า 3D-DNR ที่สามารถเปรียบเทียบเสียงรบกวนระหว่างเฟรม ต้นฉบับ และ เฟรมต่อไป แล้วไปจัดการกับเสียงรบกวนโดยยึดจากบิตขนาดเล็กที่อยู่ในเฟรมต้นฉบับเป็นหลัก

ซึ่งไม่เพียงแค่ลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ในฟังก์ชั่น DNR 3D ยังสามารถตรวจจับและกำจัดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นในเฟรมเดียวกันได้อีกด้วย ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า 2D-DNR มากนัก ฟังก์ชั่น DNR3Dจะแก้ปัญหาเรื่องการจับภาพหรือบันทึกภาพในพื้นที่ที่มีความไวแสงต่ำหรือบริเวณที่มืด เพราะฟังก์ชั่นนี้ช่วยเพิ่มช่วงไดนามิกของการรับภาพให้กว้างขึ้น และยังช่วยปรับระดับความสว่างของภาพที่จะบันทึกโดยอัตโนมัติได้อีกด้วย